25 เมษายน 2024

chiangraitodaynews

chiangraitodaynews

เชียงรายจัดแฟชั่นโชว์ “ผ้าชาติพันธ์ลุ่มน้ำโขง” สืบสานวัฒนธรรมร่วมสมัยผ้าชาติพันธ์สู่สากล

1 min read

***เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 20 ส.ค.2565 ที่ลานกิจกรรมชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงราย นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เปิดกิจกรรมสืบสานศิลปะพื้นถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดเชียงราย ภายใต้โครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มแม่น้ำโขงในลักษณะของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกันในแถบลุ่มแม่น้ำโขงในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ส่งเสริมให้นักออกแบบ ดีไซน์เนอร์/ ผู้ประกอบการในท้องถิ่นของผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชาติพันธุ์ลุ่มแม่น้ำโขง ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมผ้าทอ เครื่องประดับ และเครื่องแต่งกาย ในลักษณะของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อสร้างคุณค่า สร้างรายได้ สร้างอาชีพ อันเป็นการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนางานด้านผ้า เครื่องประดับ และเครื่องแต่งกายพื้นถิ่น ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ถ่ายทอดศาสตร์ ศิลป์ ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม จากรุ่นสู่รุ่น ให้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชน และผู้ที่สนใจ และยังกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู/ สืบสานงานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป มีนายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน นางสลักจฤฏดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นายวิสูตร บัวชุม ผอ.ททท.สนง.เชียงราย นายเสริฐ ไชยยานันตา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย พร้อมนักท่องเที่ยวและประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมงาน ซึ่งงานจัดระหว่างวันที่ 20-21 ส.ค.2565 นี้

***นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ และต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ทั้งด้านอาหาร สถาปัตยกรรม งานฝีมือ เทศกาลประเพณีมีความหลากหลาย พร้อมกับการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจากทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่สู่ในระดับสากล การที่ศิลปะพื้นถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดเชียงรายจะสร้างความมั่งคั่งให้กับจังหวัดและประเทศได้นั้น ควรต้องให้ความตระหนักในต้นทุนทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอด พัฒนาฝีมือทรัพยากรบุคคลทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นได้มีโอกาสแสดงฝีมือและพัฒนาศักยภาพ จึงจะเป็นฐานรากที่สำคัญอย่างยิ่งของการสืบสานวัฒนธรรมให้มั่นคงยั่งยืน สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดด้วยการส่งเสริมผู้ประกอบการ ศิลปินท้องถิ่น ช่างฝีมือ และปราชญ์ท้องถิ่น  เน้นกระตุ้นให้มีการนำรากวัฒนธรรมประจำถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน มาสืบสานต่อยอดและส่งผ่านวัฒนธรรมของชาติสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ตอบสนองนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วยการสืบสานต่อยอดวัฒนธรรมด้วยการนำคุณค่าของวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม      

/// ศูนย์ข่าวเชียงรายทูเดย์

Loading

More Stories